วันพฤหัสบดีที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2551

แผนการจัดการเรียนรู้
ผู้เขียนหน่วยการเรียนรู้
ชื่อและนามสกุล
นายพีระศักดิ์ เนติศรี
หน่วยงานต้นสังกัด
สพท. ร้อยเอ็ด เขต 3
ชื่อโรงเรียน
โพนทองพัฒนาวิทยา
ที่อยู่ของโรงเรียน
อำเภอโพนทอง จังหวัดร้อยเอ็ด 45110
ภาพรวมของหน่วยการเรียนรู้
เป็นการเรียนรู้เกี่ยวกับลำเลียงสารของเซลล์ ดุลยภาพเซลล์ การดำรงชีวิตเพื่อให้เกิดดุลภาพ ของสิ่งมีชีวิต


ชื่อหน่วยการเรียนรู้
- การรักษาดุลภาพของเซลล์ของสิ่งมีชีวิต
สรุปภาพรวมของหน่วยการเรียนรู้
- เซลล์จะดำรงอยู่ได้จะต้องประกอบด้วยองค์ประกอบและออร์แกเนลล์ต่างๆ ที่ทำหน้าที่แตกต่างกัน นอกจากนี้แล้วเซลล์จะดำรงชีวิตอยู่ได้ยังขึ้นอยู่กับสภาวะแวดล้อมของเซลล์ที่เหมาะสมอีกด้วย ถ้าสภาวะแวดล้อมภายนอกเปลี่ยนแปลงจะมีผลต่อเมแทบอลิซึมของเซลล์ สภาวะแวดล้อมภายนอกและสภาวะแวดล้อมภายในเซลล์ถูกแบ่งแยกจากกันโดยเยื่อหุ้มเซลล์ ตลอดเวลาที่เซลล์ยังมีชีวิตอยู่จะมีการลำเลียงสารเข้าออกจากเซลล์ตลอดเวลา แต่เนื่องจากเยื่อหุ้มเซลล์มีสมบัติในการเลือกที่จะให้สารบางชนิดเคลื่อนผ่าน สมบัติดังกล่าวทำให้เยื่อหุ้มเซลล์มีบทบาทสำคัญในการควบคุมองค์ประกอบทางเคมี หรือสภาวะแวดล้อมภายในเซลล์
Copyright ©http://school.obec.go.th/saneh/cell/cell/main2.htm
สาระการเรียนรู้
- การลำเลียงสารผ่านเซลล์ โดยผ่านเยื่อหุ้มเซลล์และไม่ผ่านเยื่อหุ้มเซลล์
ระดับชั้น
ชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 4
เวลาที่ต้องการโดยประมาณ
6 ชั่วโมง
คำอธิบายของหน่วยการเรียนรู้

เซลล์จะดำรงอยู่ได้จะต้องประกอบด้วยองค์ประกอบและออร์แกเนลล์ต่างๆ ที่ทำหน้าที่แตกต่างกัน นอกจากนี้แล้วเซลล์จะดำรงชีวิตอยู่ได้ยังขึ้นอยู่กับสภาวะแวดล้อมของเซลล์ที่เหมาะสมอีกด้วย ถ้าสภาวะแวดล้อมภายนอกเปลี่ยนแปลงจะมีผลต่อเมแทบอลิซึมของเซลล์ สภาวะแวดล้อมภายนอกและสภาวะแวดล้อมภายในเซลล์ถูกแบ่งแยกจากกันโดยเยื่อหุ้มเซลล์ ตลอดเวลาที่เซลล์ยังมีชีวิตอยู่จะมีการลำเลียงสารเข้าออกจากเซลล์ตลอดเวลา แต่เนื่องจากเยื่อหุ้มเซลล์มีสมบัติในการเลือกที่จะให้สารบางชนิดเคลื่อนผ่าน สมบัติดังกล่าวทำให้เยื่อหุ้มเซลล์มีบทบาทสำคัญในการควบคุมองค์ประกอบทางเคมี หรือสภาวะแวดล้อมภายในเซลล์ นักชีววิทยาได้ศึกษาการลำเลียงสารเข้าสู่เซลล์ พบว่ามี 2 รูปแบบด้วยกัน คือ
- การลำเลียงสารผ่านเยื่อหุ้มเซลล์
- การลำเลียงสารไม่ผ่านเยื่อหุ้มเซลล์
Copyright © http://student.nu.ac.th/kaewsa/lesson2.htm
มาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัด
มาตรฐาน ว ๑.๑ เข้าใจหน่วยพื้นฐานของสิ่งมีชีวิต ความสัมพันธ์ของโครงสร้าง และหน้าที่ของระบบต่างๆ ของสิ่งมีชีวิตที่ทำงานสัมพันธ์กัน มีกระบวนการสืบเสาะหาความรู้ สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้และนำความรู้ไปใช้ในการดำรงชีวิตของตนเองและดูแลสิ่งมีชีวิต

ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง (ตัวชี้วัดช่วงชั้น)
ทดลองและอธิบายการรักษาดุลยภาพของเซลล์ของสิ่งมีชีวิต
วัตถุประสงค์การเรียนรู้/ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง
.
คำถามกำหนดกรอบการเรียนรู้
คำถามสร้างพลังคิด
การดำรงชีวิตของสิ่งมีชีวิตอย่างสมดุล จะต้องมีสภาพแวดล้อมอย่างไร
คำถามประจำหน่วย
อุณหภูมิมีผลต่อการดำรงชีวิตของกบอย่างไรบ้าง
กบที่มีการออกกำลังกายและกบที่ไม่มีการออกกำลังมีผลต่อการเติบโตอย่างไร
กบที่เลี้ยงโดยการรดน้ำด้วยเครื่องพ่นหมอก และการรดน้ำด้วยสปริงเกอร์ มีการเจริญเติบโตแตกต่างกันอย่างไร
คำถามประจำบท
-การลำเลียงสารผ่านเซลล์มีแบบใดบ้าง
-การลำเลียงสารแบบออสโมซีสมีรูปแบบการลำเลียงอย่างไร
-การลำเลียงสารผ่านเซลล์แบบแฟซิลิเทรต เป็นการลำเลียงสารผ่านเมมเบรนบริเวณส่วนใด
-การลำเลียงสารผ่านเซลล์แบบการสร้างถุงเกิดขึ้นได้อย่างไร มีรูปแบบอย่างไร
-การลำเลียงสารมีผลต่อการดำรงชีวิตอย่างไร
-ถ้าเลือกกบเป็นตัวแทนของสิ่งมีชีวิตดุลยภาพของกบที่เกิดจากสิ่งแวดล้อมมีสิ่งใดบ้างที่เกี่ยวข้อง
-สิ่งแวดล้อมที่มีผลต่อการเจริญเติบโตของกบ มีอะไรบ้าง
-อุณหภูมิมีผลต่อการรักษาดุลยภาพของกบอย่างไรบ้าง
-ความชื้นมีผลต่อการเจริญเติบโตของกบอย่างไรบ้าง
-แสงสว่างมีผลต่อการเจริญเติบโตของกบอย่างไรบ้าง
แผนการประเมิน
ในการประเมินโครงงานวิทยาศาสตร์ จะทำการประเมินทั้งก่อนดำเนินการ ระหว่างการดำเนินการ และหลังการดำเนินการ
ระยะเวลาในการประเมิน
ก่อนเริ่มโครงงาน
ระหว่างทำโครงงาน
เมื่อสิ้นสุดโครงงาน
- การตั้งคำถาม
- บันทึกรายวัน
- เค้าโครง โครงงาน
- แผนภูมิ Mind mapping
- เค้าโครง โครงงาน
- ตารางตรวจสอบการสังเกต
- บันทึกรายวัน
- การตอบคำถาม
- การประเมินกลุ่ม รายบุคคล
- มิติคุณภาพ
- มิติคุณภาพโครงงาน
- แผนภูมิ Mind mapping
- รายงานโครงงาน
- ผลงานที่เกิดจากโครงงาน
- การนำเสนอปากเปล่า แผงนำเสนอ
- แบบสอบถามสะท้อนความคิดเห็น
สรุปภาพรวมการประเมิน
การประเมิน
จะมีการประเมินทั้งผู้เรียน ทั้งก่อนเรียนและระหว่างเรียน
- ประเมินเจตคติต่อวิทยาศาสตร์
- การประเมินกลุ่มทำงาน
- ประเมินการนำเสนอ
ประเมินชิ้นงาน ประเมินระหว่างเรียนและหลังเรียน
- ประเมินความสมบูรณ์ของรายงาย
- ประเมินความสมบูรณ์ของเนื้อหาที่ทำ
- ประเมินโอกาสในการนำไปใช้ได้
รายละเอียดหน่วยการเรียนรู้
ทักษะพื้นฐานที่จำเป็น
ทักษะการคิด ทักษะการทำงานเป็นทีม ทักษะการจัดการ ทักษะการปฏิบัติ ทักษะการนำเสนอ ทักษะการรายงาน

กิจกรรมการเรียนรู้
- นักเรียนศึกษาใบความรู้ สืบค้น ตรวจสอบเอกสาร เกี่ยวกับการรักษาดุลภาพของเซลล์และสิ่งมีชีวิต
- นักเรียนทำใบงานเกี่ยวกับการรักษาดุลยภาพของเซลล์
- นักเรียนทำการทดลองการรักษาดุลยภาพของเซลล์พืช
- นักเรียนทำการทดลองเกี่ยวกับการรักษาดุลยภาพของเซลล์ด้วยออสโมมิเตอร์
- นักเรียนทำแบบทดสอบการรักษาดุบภาพของเซลล์
- นักเรียนทำโครงงานการรักษาดุลยภาพของกบ ในภาพแวดล้อมต่าง ๆ (ตามที่นักเรียนต้องการ 1 อย่าง)
สื่อและแหล่งเรียนรู้อื่นๆ สำหรับหน่วยการเรียนรู้
เทคโนโลยี – ฮาร์ดแวร์
- ใบความรู้
- ใบงาน
- เอกสาร คู่มือ
เทคโนโลยี – ซอฟต์แวร์
ชื่อแบบประเมิน : เกณฑ์การประเมินแบบมิติคุณภาพ สำหรับการสืบค้นทางวิทยาศาสตร์
คำอธิบาย : เกณฑ์การประเมินแบบมิติคุณภาพใช้ เพื่อให้แสดงความเห็นต่อการทำโครงงานวิทยาศาสตร์
คำสำคัญ : ลำดับขั้นตอน, สมมติฐาน, การทดลอง, การวิเคราะห์ข้อมูล, การทำข้อสรุป, การคำนวณ
คำสั่ง : ใช้เกณฑ์การประเมินแบบมิติคุณภาพเพื่อประเมินตนเองในด้านทักษะกระบวนการในห้องปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์ขณะที่ทำการสืบค้นและสำรวจทางวิทยาศาสตร์ (ขณะปฏิบัติงาน)
ชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 4 วิชาชีววิทยา
ประเภทของการประเมิน : Lab Process
ตัวบ่งชี้
คำถาม/ปัญหา
-มีการบุปัญหาที่สอดคล้อง ถูกต้องและชัดเจน
-ปัญหามีการสะท้อนความเข้าใจในแนวคิดหลักและ
-มีการนำทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณไปใช้ในการทดลอง
-มีการระบุปัญหาที่สมเหตุสมผลพร้อมคำอธิบายพื้นฐานที่สอดคล้อง
-ปัญหามีการสะท้อนการคิดอย่างมีวิจารณญาณบางอย่างและ
-มีการเชื่อมโยงกับอุปกรณ์
-มีการระบุปัญหาพร้อมคำอธิบายที่จำกัด
-ปัญหาสะท้อนการคิดอย่างมีวิจารณญาณน้อยมาก และ
-มีการเชื่อมโยงเล็กน้อยกับอุปกรณ์
-ปัญหาจำกัด หรือไม่สอดคล้อง
-ไม่มีคำอธิบาย
-ไม่มีความคิดต่อปัญหา
-ไม่มีการเชื่อมโยงที่มีความหมาย
ความเข้าใจเนื้อหา
-การทดลองหรือการสำรวจสะท้อนความเข้าใจ เชิงลึก ในแนวคิดหลักและกระบวนการที่สอดคล้องทางวิทยาศาสตร์
-การทดลองหรือการสำรวจสะท้อนความเข้าใจ ที่เหมาะสมในแนวคิดหลักและกระบวนการที่สอดคล้องทางวิทยาศาสตร์
-การทดลองหรือการสำรวจสะท้อนความเข้าใจ ที่กำลังพัฒนาในแนวคิดหลักและกระบวนการที่สอดคล้องทางวิทยาศาสตร์
-การทดลองหรือการสำรวจสะท้อนความเข้าใจที่ไม่สมบูรณ์และไม่ถูกต้องของแนวคิดหลักและกระบวนการที่สอดคล้องทางวิทยาศาสตร์
สมมติฐาน
-สมมติฐานมีการเชื่อมโยงที่สอดคล้องและตรงกับปัญหา
-มีคำอธิบายที่ชัดเจนที่ขัดแย้งหรือปกป้องความรู้ที่มีอยู่
-ใช้แนวคิดหลักและคำศัพท์ทางวิทยาศาสตร์ที่เหมาะสม
-สมมติฐานของฉันมีการเชื่อมโยงที่ตรงกับปัญหา
-มีคำอธิบายที่ชัดเจนซึ่งความรู้ที่มีอยู่สนับสนุน
-ใช้แนวคิดหลักและคำศัพท์ทางวิทยาศาสตร์ที่เหมาะสม
-สมมติฐานมีการเชื่อมโยงบางอย่างกับปัญหา
-ความรู้ที่มีอยู่ไม่สนับสนุน
-ใช้แนวคิดหลักและคำศัพท์ทางวิทยาศาสตร์บางอย่าง แต่บางครั้งใช้อย่างไม่ถูกต้อง
-สมมติฐานมีการเชื่อมโยงกับปัญหาน้อยมาก
-คำอธิบายขัดแย้งกับความรู้ที่มีอยู่
-ไม่ใช้แนวคิดหลักและคำศัพท์ทางวิทยาศาสตร์อย่างถูกต้อง
ขั้นตอน
- ขั้นตอนของฉันเขียนอย่างดี และสามารถทำซ้ำได้อย่างถูกต้องแม่นยำ
- ครอบคลุมขั้นตอนการดำเนินการทดลองที่มีรายละเอียดทีละขั้น
-ขั้นตอนของฉันเขียนอย่างดี และครอบคลุมขั้นตอนและคำสั่งที่จำเป็นทั้งหมด
-ขั้นตอนดูเข้าท่า แต่ขั้นตอนหรือคำสั่งบางอย่างสับสนหรือขาดหายไป
-ขั้นตอน เขียนได้ไม่ดีหรือไม่สมบูรณ์
-ครอบคลุมขั้นตอนน้อยมาก
วัสดุอุปกรณ์
-ทำรายการอุปกรณ์ทั้งหมด โดยใช้ชื่อที่เฉพาะเจาะจงและจำนวนที่พอเหมาะ
-ทำรายการอุปกรณ์ทั้งหมด และอธิบายอุปกรณ์ส่วนมากอย่างเฉพาะเจาะจง
-ทำรายการอุปกรณ์ส่วนใหญ่ แต่บางอย่างขาดหายหรืออธิบายอย่างไม่เจาะจง
-ทำรายการอุปกรณ์น้อยมาก
การออกแบบการทดลอง
-การออกแบบในห้องปฏิบัติการผ่านการคิดอย่างรอบคอบ สอดคล้องกับปัญหา และทดสอบสมมติฐาน
-การออกแบบในห้องปฏิบัติการเหมาะสมและ ทดสอบสมมติฐาน
-การออกแบบในห้องปฏิบัติการเป็นแบบทั่ว ๆ ไป ไม่สอดคล้องโดยตรงกับสมมตฐานและปัญหา
-การออกแบบในห้องปฏิบัติการไม่สอดคล้องกับปัญหาและสมมติฐาน
ตัวแปร
-ระบุตัวแปรและบันทึกความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร
-ระบุตัวแปรและบันทึกความสัมพันธ์บางอย่างระหว่างตัวแปร
-ระบุตัวแปร
-ไม่ได้ระบุตัวแปร
ผลลัพธ์ที่ได้
-อธิบายในรายละเอียดของสิ่งที่เกิดขึ้นระหว่างการทดลองได้อย่างถูกต้อง
-อธิบายสิ่งที่เกิดขึ้นระหว่างการทดลองได้อย่างชัดเจน
-อธิบายสิ่งที่เกิดขึ้นระหว่างการทดลองอย่างกำกวม
-ไม่ได้อธิบายสิ่งที่เกิดขึ้นระหว่างการทดลอง
ข้อมูล
-แสดงข้อมูลได้อย่างถูกต้องโดยใช้แผนภูมิ กราฟและไดอะแกรมที่หลากหลายอย่างรอบคอบ
-แสดงข้อมูลได้อย่างถูกต้องโดยใช้วิธีการที่หลากหลาย แม้ว่ามีข้อผิดพลาดเล็กน้อยบางอย่างในการกำหนดชื่อ
-แสดงข้อมูลด้วยวิธีการเดียว หรือฉันกำหนดชื่อของข้อมูลด้วยวิธีที่จำกัดอย่างไม่ถูกต้อง
-แสดงข้อมูลอย่างไม่ดีและกำหนดชื่ออย่างไม่ถูกต้อง
การวิเคราะห์
-วิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรหนึ่งตัวหรือมากกว่า
-อธิบายการวิเคราะห์ในเชิงลึก
-วิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร
-พยายามวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร แต่การอธิบายของฉันผิวเผิน
-ไม่ได้วิเคราะห์ความส้มพันธ์ระหว่างตัวแปร
ข้อสรุป
-แสดงให้เห็นว่า วิเคราะห์สมมติฐานและอธิบายตัวแปรทั้งหมดอย่างชัดเจน
ข้อสรุปอยู่บนพื้นฐานการวิจัยที่กว้างขวางและข้อมูลที่จัดทำเป็นเอกสารอย่างดี
-ใช้แนวคิดหลักและคำศัพท์ทางวิทยาศาสตร์ได้อย่างถูกต้อง
-ข้อสรุปแสดงการเชื่อมโยงระหว่างสมมติฐานและการทดลอง อธิบายตัวแปรบางอย่าง
--ข้อสรุปอยู่บนพื้นฐานการวิจัยและข้อมูล ฉันใช้ภาษาทางวิทยาศาสตร์ได้อย่างถูกต้อง
-ข้อสรุปกว้างและค่อนข้างอธิบายการเชื่อมโยงระหว่างสมมติฐาน ตัวแปร และผลการทดลอง
-บางครั้งฉันทำข้อผิดพลาดในเรื่องภาษาทางวิทยาศาสตร์
-ข้อสรุปของฉันขาดหายไปหรือมีคำอธิบายเกี่ยวกับการเชื่อมโยงสมมติฐาน ตัวแปรและผลการทดลองสั้นมากหรือไม่มีเลย
-ฉันทำข้อผิดพลาดจำนวนมากในเรื่องภาษาทางวิทยาศาสตร์
ความปลอดภัย
-ทำตามขั้นตอนด้านความปลอดภัยทั้งหมดขณะที่ทำการทดลอง และฉันอธิบายทั้งหมดในรายละเอียด
-จัดการกับสถานการณ์ที่ไม่คาดคิดได้อย่างปลอดภัยและลุล่วงอย่างดี
-ทำตามขั้นตอนด้านความปลอดภัยได้อย่างถูกต้องขณะที่ทำการทดลอง และฉันอธิบายได้อย่างเหมาะสม
-ถ้าฉันทำข้อผิดพลาดบางประการ เป็นเพียงเล็กน้อยและไม่เป็นอุปสรรคต่อตัวเองและเพื่อนร่วมห้อง
-โดยปกติ ทำตามขั้นตอนด้านความปลอดภัยและอธิบายอย่างไม่สมบูรณ์
-ฉันทำข้อผิดพลาดที่เป็นอุปสรรคต่อตัวเองหรือเพื่อนร่วมห้อง
-ดำเนินการทดลองด้วยวิธีที่สะเพร่าและไม่รอบคอบซึ่งเป็นอุปสรรคต่อตัวเองหรือเพื่อนร่วมห้อง
-ไม่ได้อธิบายขั้นตอนด้านความปลอดภัยที่ฉันทำตาม
รายงานจากห้องปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์
-รายงานจากห้องปฏิบัติการครอบคลุมส่วนประกอบที่ต้องการทั้งหมด กำหนดชื่ออย่างชัดเจนและ
-จัดลำดับ- คำถาม สมมติฐาน อุปกรณ์ ตัวแปร ขั้นตอน การคำนวณ ผลลัพธ์ การวิเคราะห์ และข้อสรุปที่เหมาะสม
-การเขียนของฉันชัดเจนและถูกต้องแม่นยำ และไม่มีข้อผิดพลาดในเรื่องกลไกหรือไวยากรณ์
-รายงานจากห้องปฏิบัติการครอบคลุมส่วนประกอบที่ต้องการทั้งหมด - คำถาม สมมติฐาน อุปกรณ์ ตัวแปร ขั้นตอน การคำนวณ ผลลัพธ์ การวิเคราะห์ และข้อสรุปที่เหมาะสม -การเขียนของฉันไม่มีข้อผิดพลาดในเรื่องกลไกหรือไวยากรณ์ที่ส่งผลต่อความหมาย.
-ส่วนประกอบที่ต้องการบางอย่างขาดหายไปจากรายงานจากห้องปฏิบัติ
-การเขียนของฉันมีข้อผิดพลาดในเรื่องกลไกและไวยากรณ์ที่ส่งผลต่อความหมาย
-ส่วนประกอบที่ต้องการบางอย่างขาดหายไปจากรายงานจากห้องปฏิบัติ
-การเขียนของฉันมีข้อผิดพลาดจำนวนมากในเรื่องกลไกและไวยากรณ์ที่ส่งผลความหมายยากที่จะเข้าใจ

วันพุธที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2551

ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง
ทดลองและอธิบายการรักษาดุลยภาพของเซลล์ของสิ่งมีชีวิต
จุดประสงค์การเรียนรู้รายทาง
1.นักเรียนอธิบายความหมายของการรักษาดุลยภาพของเซลล์ได้
2.นักเรียนสามารถบอกประเภทการลำเลียงสารผ่านเซลล์ได้
3.นักเรียนสามารถทดลองการลำเลียงสารผ่านเซลล์ของพารามีเซียมได้
4.นักเรียนสามารถทดลองการลำเลียงสารผ่านเซลล์ของพืชได้
5.นักเรียนสามารถทดลองการลำเลียงสารผ่านเซลล์โดยใช้ออสโมมิเตอร์ได้
6.นักเรียนสามารถสืบค้น บันทึกข้อมูลเกี่ยวกับการลำเลียงสารผ่านเซลล์ได้
7.นักเรียนสามารถจัดทำโครงงานเกี่ยวกับอุณหภูมิมีผลต่อการเจริญเติบโตของสิ่งมีชีวิตอย่างไร

วันอังคารที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2551

โครงงานวิทยาศาสตร์

วันนี้ไม่รู้เป็นยังไง ..? ปวดท้ายทอยหนึบ ๆ เลย