วันพฤหัสบดีที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2551

แผนการจัดการเรียนรู้
ผู้เขียนหน่วยการเรียนรู้
ชื่อและนามสกุล
นายพีระศักดิ์ เนติศรี
หน่วยงานต้นสังกัด
สพท. ร้อยเอ็ด เขต 3
ชื่อโรงเรียน
โพนทองพัฒนาวิทยา
ที่อยู่ของโรงเรียน
อำเภอโพนทอง จังหวัดร้อยเอ็ด 45110
ภาพรวมของหน่วยการเรียนรู้
เป็นการเรียนรู้เกี่ยวกับลำเลียงสารของเซลล์ ดุลยภาพเซลล์ การดำรงชีวิตเพื่อให้เกิดดุลภาพ ของสิ่งมีชีวิต


ชื่อหน่วยการเรียนรู้
- การรักษาดุลภาพของเซลล์ของสิ่งมีชีวิต
สรุปภาพรวมของหน่วยการเรียนรู้
- เซลล์จะดำรงอยู่ได้จะต้องประกอบด้วยองค์ประกอบและออร์แกเนลล์ต่างๆ ที่ทำหน้าที่แตกต่างกัน นอกจากนี้แล้วเซลล์จะดำรงชีวิตอยู่ได้ยังขึ้นอยู่กับสภาวะแวดล้อมของเซลล์ที่เหมาะสมอีกด้วย ถ้าสภาวะแวดล้อมภายนอกเปลี่ยนแปลงจะมีผลต่อเมแทบอลิซึมของเซลล์ สภาวะแวดล้อมภายนอกและสภาวะแวดล้อมภายในเซลล์ถูกแบ่งแยกจากกันโดยเยื่อหุ้มเซลล์ ตลอดเวลาที่เซลล์ยังมีชีวิตอยู่จะมีการลำเลียงสารเข้าออกจากเซลล์ตลอดเวลา แต่เนื่องจากเยื่อหุ้มเซลล์มีสมบัติในการเลือกที่จะให้สารบางชนิดเคลื่อนผ่าน สมบัติดังกล่าวทำให้เยื่อหุ้มเซลล์มีบทบาทสำคัญในการควบคุมองค์ประกอบทางเคมี หรือสภาวะแวดล้อมภายในเซลล์
Copyright ©http://school.obec.go.th/saneh/cell/cell/main2.htm
สาระการเรียนรู้
- การลำเลียงสารผ่านเซลล์ โดยผ่านเยื่อหุ้มเซลล์และไม่ผ่านเยื่อหุ้มเซลล์
ระดับชั้น
ชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 4
เวลาที่ต้องการโดยประมาณ
6 ชั่วโมง
คำอธิบายของหน่วยการเรียนรู้

เซลล์จะดำรงอยู่ได้จะต้องประกอบด้วยองค์ประกอบและออร์แกเนลล์ต่างๆ ที่ทำหน้าที่แตกต่างกัน นอกจากนี้แล้วเซลล์จะดำรงชีวิตอยู่ได้ยังขึ้นอยู่กับสภาวะแวดล้อมของเซลล์ที่เหมาะสมอีกด้วย ถ้าสภาวะแวดล้อมภายนอกเปลี่ยนแปลงจะมีผลต่อเมแทบอลิซึมของเซลล์ สภาวะแวดล้อมภายนอกและสภาวะแวดล้อมภายในเซลล์ถูกแบ่งแยกจากกันโดยเยื่อหุ้มเซลล์ ตลอดเวลาที่เซลล์ยังมีชีวิตอยู่จะมีการลำเลียงสารเข้าออกจากเซลล์ตลอดเวลา แต่เนื่องจากเยื่อหุ้มเซลล์มีสมบัติในการเลือกที่จะให้สารบางชนิดเคลื่อนผ่าน สมบัติดังกล่าวทำให้เยื่อหุ้มเซลล์มีบทบาทสำคัญในการควบคุมองค์ประกอบทางเคมี หรือสภาวะแวดล้อมภายในเซลล์ นักชีววิทยาได้ศึกษาการลำเลียงสารเข้าสู่เซลล์ พบว่ามี 2 รูปแบบด้วยกัน คือ
- การลำเลียงสารผ่านเยื่อหุ้มเซลล์
- การลำเลียงสารไม่ผ่านเยื่อหุ้มเซลล์
Copyright © http://student.nu.ac.th/kaewsa/lesson2.htm
มาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัด
มาตรฐาน ว ๑.๑ เข้าใจหน่วยพื้นฐานของสิ่งมีชีวิต ความสัมพันธ์ของโครงสร้าง และหน้าที่ของระบบต่างๆ ของสิ่งมีชีวิตที่ทำงานสัมพันธ์กัน มีกระบวนการสืบเสาะหาความรู้ สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้และนำความรู้ไปใช้ในการดำรงชีวิตของตนเองและดูแลสิ่งมีชีวิต

ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง (ตัวชี้วัดช่วงชั้น)
ทดลองและอธิบายการรักษาดุลยภาพของเซลล์ของสิ่งมีชีวิต
วัตถุประสงค์การเรียนรู้/ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง
.
คำถามกำหนดกรอบการเรียนรู้
คำถามสร้างพลังคิด
การดำรงชีวิตของสิ่งมีชีวิตอย่างสมดุล จะต้องมีสภาพแวดล้อมอย่างไร
คำถามประจำหน่วย
อุณหภูมิมีผลต่อการดำรงชีวิตของกบอย่างไรบ้าง
กบที่มีการออกกำลังกายและกบที่ไม่มีการออกกำลังมีผลต่อการเติบโตอย่างไร
กบที่เลี้ยงโดยการรดน้ำด้วยเครื่องพ่นหมอก และการรดน้ำด้วยสปริงเกอร์ มีการเจริญเติบโตแตกต่างกันอย่างไร
คำถามประจำบท
-การลำเลียงสารผ่านเซลล์มีแบบใดบ้าง
-การลำเลียงสารแบบออสโมซีสมีรูปแบบการลำเลียงอย่างไร
-การลำเลียงสารผ่านเซลล์แบบแฟซิลิเทรต เป็นการลำเลียงสารผ่านเมมเบรนบริเวณส่วนใด
-การลำเลียงสารผ่านเซลล์แบบการสร้างถุงเกิดขึ้นได้อย่างไร มีรูปแบบอย่างไร
-การลำเลียงสารมีผลต่อการดำรงชีวิตอย่างไร
-ถ้าเลือกกบเป็นตัวแทนของสิ่งมีชีวิตดุลยภาพของกบที่เกิดจากสิ่งแวดล้อมมีสิ่งใดบ้างที่เกี่ยวข้อง
-สิ่งแวดล้อมที่มีผลต่อการเจริญเติบโตของกบ มีอะไรบ้าง
-อุณหภูมิมีผลต่อการรักษาดุลยภาพของกบอย่างไรบ้าง
-ความชื้นมีผลต่อการเจริญเติบโตของกบอย่างไรบ้าง
-แสงสว่างมีผลต่อการเจริญเติบโตของกบอย่างไรบ้าง
แผนการประเมิน
ในการประเมินโครงงานวิทยาศาสตร์ จะทำการประเมินทั้งก่อนดำเนินการ ระหว่างการดำเนินการ และหลังการดำเนินการ
ระยะเวลาในการประเมิน
ก่อนเริ่มโครงงาน
ระหว่างทำโครงงาน
เมื่อสิ้นสุดโครงงาน
- การตั้งคำถาม
- บันทึกรายวัน
- เค้าโครง โครงงาน
- แผนภูมิ Mind mapping
- เค้าโครง โครงงาน
- ตารางตรวจสอบการสังเกต
- บันทึกรายวัน
- การตอบคำถาม
- การประเมินกลุ่ม รายบุคคล
- มิติคุณภาพ
- มิติคุณภาพโครงงาน
- แผนภูมิ Mind mapping
- รายงานโครงงาน
- ผลงานที่เกิดจากโครงงาน
- การนำเสนอปากเปล่า แผงนำเสนอ
- แบบสอบถามสะท้อนความคิดเห็น
สรุปภาพรวมการประเมิน
การประเมิน
จะมีการประเมินทั้งผู้เรียน ทั้งก่อนเรียนและระหว่างเรียน
- ประเมินเจตคติต่อวิทยาศาสตร์
- การประเมินกลุ่มทำงาน
- ประเมินการนำเสนอ
ประเมินชิ้นงาน ประเมินระหว่างเรียนและหลังเรียน
- ประเมินความสมบูรณ์ของรายงาย
- ประเมินความสมบูรณ์ของเนื้อหาที่ทำ
- ประเมินโอกาสในการนำไปใช้ได้
รายละเอียดหน่วยการเรียนรู้
ทักษะพื้นฐานที่จำเป็น
ทักษะการคิด ทักษะการทำงานเป็นทีม ทักษะการจัดการ ทักษะการปฏิบัติ ทักษะการนำเสนอ ทักษะการรายงาน

กิจกรรมการเรียนรู้
- นักเรียนศึกษาใบความรู้ สืบค้น ตรวจสอบเอกสาร เกี่ยวกับการรักษาดุลภาพของเซลล์และสิ่งมีชีวิต
- นักเรียนทำใบงานเกี่ยวกับการรักษาดุลยภาพของเซลล์
- นักเรียนทำการทดลองการรักษาดุลยภาพของเซลล์พืช
- นักเรียนทำการทดลองเกี่ยวกับการรักษาดุลยภาพของเซลล์ด้วยออสโมมิเตอร์
- นักเรียนทำแบบทดสอบการรักษาดุบภาพของเซลล์
- นักเรียนทำโครงงานการรักษาดุลยภาพของกบ ในภาพแวดล้อมต่าง ๆ (ตามที่นักเรียนต้องการ 1 อย่าง)
สื่อและแหล่งเรียนรู้อื่นๆ สำหรับหน่วยการเรียนรู้
เทคโนโลยี – ฮาร์ดแวร์
- ใบความรู้
- ใบงาน
- เอกสาร คู่มือ
เทคโนโลยี – ซอฟต์แวร์

ไม่มีความคิดเห็น: