วันพฤหัสบดีที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2551

ชื่อแบบประเมิน : เกณฑ์การประเมินแบบมิติคุณภาพ สำหรับการสืบค้นทางวิทยาศาสตร์
คำอธิบาย : เกณฑ์การประเมินแบบมิติคุณภาพใช้ เพื่อให้แสดงความเห็นต่อการทำโครงงานวิทยาศาสตร์
คำสำคัญ : ลำดับขั้นตอน, สมมติฐาน, การทดลอง, การวิเคราะห์ข้อมูล, การทำข้อสรุป, การคำนวณ
คำสั่ง : ใช้เกณฑ์การประเมินแบบมิติคุณภาพเพื่อประเมินตนเองในด้านทักษะกระบวนการในห้องปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์ขณะที่ทำการสืบค้นและสำรวจทางวิทยาศาสตร์ (ขณะปฏิบัติงาน)
ชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 4 วิชาชีววิทยา
ประเภทของการประเมิน : Lab Process
ตัวบ่งชี้
คำถาม/ปัญหา
-มีการบุปัญหาที่สอดคล้อง ถูกต้องและชัดเจน
-ปัญหามีการสะท้อนความเข้าใจในแนวคิดหลักและ
-มีการนำทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณไปใช้ในการทดลอง
-มีการระบุปัญหาที่สมเหตุสมผลพร้อมคำอธิบายพื้นฐานที่สอดคล้อง
-ปัญหามีการสะท้อนการคิดอย่างมีวิจารณญาณบางอย่างและ
-มีการเชื่อมโยงกับอุปกรณ์
-มีการระบุปัญหาพร้อมคำอธิบายที่จำกัด
-ปัญหาสะท้อนการคิดอย่างมีวิจารณญาณน้อยมาก และ
-มีการเชื่อมโยงเล็กน้อยกับอุปกรณ์
-ปัญหาจำกัด หรือไม่สอดคล้อง
-ไม่มีคำอธิบาย
-ไม่มีความคิดต่อปัญหา
-ไม่มีการเชื่อมโยงที่มีความหมาย
ความเข้าใจเนื้อหา
-การทดลองหรือการสำรวจสะท้อนความเข้าใจ เชิงลึก ในแนวคิดหลักและกระบวนการที่สอดคล้องทางวิทยาศาสตร์
-การทดลองหรือการสำรวจสะท้อนความเข้าใจ ที่เหมาะสมในแนวคิดหลักและกระบวนการที่สอดคล้องทางวิทยาศาสตร์
-การทดลองหรือการสำรวจสะท้อนความเข้าใจ ที่กำลังพัฒนาในแนวคิดหลักและกระบวนการที่สอดคล้องทางวิทยาศาสตร์
-การทดลองหรือการสำรวจสะท้อนความเข้าใจที่ไม่สมบูรณ์และไม่ถูกต้องของแนวคิดหลักและกระบวนการที่สอดคล้องทางวิทยาศาสตร์
สมมติฐาน
-สมมติฐานมีการเชื่อมโยงที่สอดคล้องและตรงกับปัญหา
-มีคำอธิบายที่ชัดเจนที่ขัดแย้งหรือปกป้องความรู้ที่มีอยู่
-ใช้แนวคิดหลักและคำศัพท์ทางวิทยาศาสตร์ที่เหมาะสม
-สมมติฐานของฉันมีการเชื่อมโยงที่ตรงกับปัญหา
-มีคำอธิบายที่ชัดเจนซึ่งความรู้ที่มีอยู่สนับสนุน
-ใช้แนวคิดหลักและคำศัพท์ทางวิทยาศาสตร์ที่เหมาะสม
-สมมติฐานมีการเชื่อมโยงบางอย่างกับปัญหา
-ความรู้ที่มีอยู่ไม่สนับสนุน
-ใช้แนวคิดหลักและคำศัพท์ทางวิทยาศาสตร์บางอย่าง แต่บางครั้งใช้อย่างไม่ถูกต้อง
-สมมติฐานมีการเชื่อมโยงกับปัญหาน้อยมาก
-คำอธิบายขัดแย้งกับความรู้ที่มีอยู่
-ไม่ใช้แนวคิดหลักและคำศัพท์ทางวิทยาศาสตร์อย่างถูกต้อง
ขั้นตอน
- ขั้นตอนของฉันเขียนอย่างดี และสามารถทำซ้ำได้อย่างถูกต้องแม่นยำ
- ครอบคลุมขั้นตอนการดำเนินการทดลองที่มีรายละเอียดทีละขั้น
-ขั้นตอนของฉันเขียนอย่างดี และครอบคลุมขั้นตอนและคำสั่งที่จำเป็นทั้งหมด
-ขั้นตอนดูเข้าท่า แต่ขั้นตอนหรือคำสั่งบางอย่างสับสนหรือขาดหายไป
-ขั้นตอน เขียนได้ไม่ดีหรือไม่สมบูรณ์
-ครอบคลุมขั้นตอนน้อยมาก
วัสดุอุปกรณ์
-ทำรายการอุปกรณ์ทั้งหมด โดยใช้ชื่อที่เฉพาะเจาะจงและจำนวนที่พอเหมาะ
-ทำรายการอุปกรณ์ทั้งหมด และอธิบายอุปกรณ์ส่วนมากอย่างเฉพาะเจาะจง
-ทำรายการอุปกรณ์ส่วนใหญ่ แต่บางอย่างขาดหายหรืออธิบายอย่างไม่เจาะจง
-ทำรายการอุปกรณ์น้อยมาก
การออกแบบการทดลอง
-การออกแบบในห้องปฏิบัติการผ่านการคิดอย่างรอบคอบ สอดคล้องกับปัญหา และทดสอบสมมติฐาน
-การออกแบบในห้องปฏิบัติการเหมาะสมและ ทดสอบสมมติฐาน
-การออกแบบในห้องปฏิบัติการเป็นแบบทั่ว ๆ ไป ไม่สอดคล้องโดยตรงกับสมมตฐานและปัญหา
-การออกแบบในห้องปฏิบัติการไม่สอดคล้องกับปัญหาและสมมติฐาน
ตัวแปร
-ระบุตัวแปรและบันทึกความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร
-ระบุตัวแปรและบันทึกความสัมพันธ์บางอย่างระหว่างตัวแปร
-ระบุตัวแปร
-ไม่ได้ระบุตัวแปร
ผลลัพธ์ที่ได้
-อธิบายในรายละเอียดของสิ่งที่เกิดขึ้นระหว่างการทดลองได้อย่างถูกต้อง
-อธิบายสิ่งที่เกิดขึ้นระหว่างการทดลองได้อย่างชัดเจน
-อธิบายสิ่งที่เกิดขึ้นระหว่างการทดลองอย่างกำกวม
-ไม่ได้อธิบายสิ่งที่เกิดขึ้นระหว่างการทดลอง
ข้อมูล
-แสดงข้อมูลได้อย่างถูกต้องโดยใช้แผนภูมิ กราฟและไดอะแกรมที่หลากหลายอย่างรอบคอบ
-แสดงข้อมูลได้อย่างถูกต้องโดยใช้วิธีการที่หลากหลาย แม้ว่ามีข้อผิดพลาดเล็กน้อยบางอย่างในการกำหนดชื่อ
-แสดงข้อมูลด้วยวิธีการเดียว หรือฉันกำหนดชื่อของข้อมูลด้วยวิธีที่จำกัดอย่างไม่ถูกต้อง
-แสดงข้อมูลอย่างไม่ดีและกำหนดชื่ออย่างไม่ถูกต้อง
การวิเคราะห์
-วิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรหนึ่งตัวหรือมากกว่า
-อธิบายการวิเคราะห์ในเชิงลึก
-วิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร
-พยายามวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร แต่การอธิบายของฉันผิวเผิน
-ไม่ได้วิเคราะห์ความส้มพันธ์ระหว่างตัวแปร
ข้อสรุป
-แสดงให้เห็นว่า วิเคราะห์สมมติฐานและอธิบายตัวแปรทั้งหมดอย่างชัดเจน
ข้อสรุปอยู่บนพื้นฐานการวิจัยที่กว้างขวางและข้อมูลที่จัดทำเป็นเอกสารอย่างดี
-ใช้แนวคิดหลักและคำศัพท์ทางวิทยาศาสตร์ได้อย่างถูกต้อง
-ข้อสรุปแสดงการเชื่อมโยงระหว่างสมมติฐานและการทดลอง อธิบายตัวแปรบางอย่าง
--ข้อสรุปอยู่บนพื้นฐานการวิจัยและข้อมูล ฉันใช้ภาษาทางวิทยาศาสตร์ได้อย่างถูกต้อง
-ข้อสรุปกว้างและค่อนข้างอธิบายการเชื่อมโยงระหว่างสมมติฐาน ตัวแปร และผลการทดลอง
-บางครั้งฉันทำข้อผิดพลาดในเรื่องภาษาทางวิทยาศาสตร์
-ข้อสรุปของฉันขาดหายไปหรือมีคำอธิบายเกี่ยวกับการเชื่อมโยงสมมติฐาน ตัวแปรและผลการทดลองสั้นมากหรือไม่มีเลย
-ฉันทำข้อผิดพลาดจำนวนมากในเรื่องภาษาทางวิทยาศาสตร์
ความปลอดภัย
-ทำตามขั้นตอนด้านความปลอดภัยทั้งหมดขณะที่ทำการทดลอง และฉันอธิบายทั้งหมดในรายละเอียด
-จัดการกับสถานการณ์ที่ไม่คาดคิดได้อย่างปลอดภัยและลุล่วงอย่างดี
-ทำตามขั้นตอนด้านความปลอดภัยได้อย่างถูกต้องขณะที่ทำการทดลอง และฉันอธิบายได้อย่างเหมาะสม
-ถ้าฉันทำข้อผิดพลาดบางประการ เป็นเพียงเล็กน้อยและไม่เป็นอุปสรรคต่อตัวเองและเพื่อนร่วมห้อง
-โดยปกติ ทำตามขั้นตอนด้านความปลอดภัยและอธิบายอย่างไม่สมบูรณ์
-ฉันทำข้อผิดพลาดที่เป็นอุปสรรคต่อตัวเองหรือเพื่อนร่วมห้อง
-ดำเนินการทดลองด้วยวิธีที่สะเพร่าและไม่รอบคอบซึ่งเป็นอุปสรรคต่อตัวเองหรือเพื่อนร่วมห้อง
-ไม่ได้อธิบายขั้นตอนด้านความปลอดภัยที่ฉันทำตาม
รายงานจากห้องปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์
-รายงานจากห้องปฏิบัติการครอบคลุมส่วนประกอบที่ต้องการทั้งหมด กำหนดชื่ออย่างชัดเจนและ
-จัดลำดับ- คำถาม สมมติฐาน อุปกรณ์ ตัวแปร ขั้นตอน การคำนวณ ผลลัพธ์ การวิเคราะห์ และข้อสรุปที่เหมาะสม
-การเขียนของฉันชัดเจนและถูกต้องแม่นยำ และไม่มีข้อผิดพลาดในเรื่องกลไกหรือไวยากรณ์
-รายงานจากห้องปฏิบัติการครอบคลุมส่วนประกอบที่ต้องการทั้งหมด - คำถาม สมมติฐาน อุปกรณ์ ตัวแปร ขั้นตอน การคำนวณ ผลลัพธ์ การวิเคราะห์ และข้อสรุปที่เหมาะสม -การเขียนของฉันไม่มีข้อผิดพลาดในเรื่องกลไกหรือไวยากรณ์ที่ส่งผลต่อความหมาย.
-ส่วนประกอบที่ต้องการบางอย่างขาดหายไปจากรายงานจากห้องปฏิบัติ
-การเขียนของฉันมีข้อผิดพลาดในเรื่องกลไกและไวยากรณ์ที่ส่งผลต่อความหมาย
-ส่วนประกอบที่ต้องการบางอย่างขาดหายไปจากรายงานจากห้องปฏิบัติ
-การเขียนของฉันมีข้อผิดพลาดจำนวนมากในเรื่องกลไกและไวยากรณ์ที่ส่งผลความหมายยากที่จะเข้าใจ

ไม่มีความคิดเห็น: